Exotic pets
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว
เนื้องอกและมะเร็ง
ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
โรคพยาธิหัวใจในสุนัข (Heart Worm Disease in Dogs)
โรคพยาธิหัวใจในแมว (Heart Worm Disease in Cats)
ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดลมตีบในสุนัข
วิธีการตรวจโรคหัวใจ
ภาวะโลหิตจาง (Anaemia)
ระบบประสาท
ระบบสืบพันธุ์
โรคกระดูกและข้อ และกายภาพบำบัด
โรคตาในสัตว์เลี้ยง
โรคที่สำคัญในแมว
โรคผิวหนัง
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคอื่นๆในสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
 
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า หัวใจโตเป็นโรคอย่างหนึ่ง แท้ที่จริงแล้ว ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรคแต่เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดตามมาของโรคอื่น เช่นโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความผิดปกติของหลอดเลือดและหัวใจมาแต่กำเนิด พยาธิหนอนหัวใจ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะขาดสารอาหารบางชนิด เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้น จะเกิดภาวะหัวใจโต ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติที่จะส่งผลให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตในที่สุด
อาการ
สัตว์ที่มีภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นสาเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หอบ ไอ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ท้องมาน หรือขาหลังบวมน้ำ

การวินิจฉัย
  • ประวัติอาการ ชนิดสัตว์ เพศ พันธุ์ และอายุ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องมากขึ้น
  • การตรวจร่างกาย โดยเริ่มจากการตรวจดูสีของลิ้นและเหงือก การคลำชีพจร ฟังเสียงหัวใจ ฟังเสียงปอดและการหายใจ
  • การเอ็กซ์เรย์ สามารถบอกขนาดของหัวใจได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ไม่สามารถบอกความหนาบางของกล้ามเนื้อหัวใจ และการทำงานของหัวใจได้
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ใช้วัดการส่งผ่านของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ เพื่อดูขนาด จังหวะการทำงาน และความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ แต่เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำต่ำ สัตว์บางตัวที่คลื่นไฟฟ้าแสดงผลตรวจว่าหัวใจมีขนาดใหญ่ ในความจริงอาจมีขนาดปกติ ในทางกลับกัน บางครั้งอาจตรวจวัดได้ว่าขนาดหัวใจปกติ แต่ความจริงแล้วขนาดหัวใจอาจผิดปกติได้
  • การตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจ เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดห้องต่างๆของหัวใจ ขนาดกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การทำงานและความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
การรักษา
สามารถทำได้เช่น การความคุมความดัน การลดภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาโรคติดเชื้อ และการปรับอาหารให้เหมาะสมกับตัวสัตว์ เป็นการรักษาตามสาเหตุของอาการมากกว่าการมุ่งเน้นรักษาให้หัวใจกลับสู่ขนาดปกติ เพื่อให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงภาวะปกติ และช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นไปมากกว่าเดิม
 
 
โรงพยาบาลสัตว์ศรีวรา
1325 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ 0-2530-7636-7 แฟกซ์ 0-2530-7633
Copyright © 2011 Sriwara Animal Hospital Co. ,Ltd. All rights reserved.